Social Icons

Featured Posts

ลูกอีสาน คนต่างถิ่น หมู่ที่ 2 บ.ดอนคง ต.อุ่มจาน อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี

koondon.com เว็บบ้านดอนคง "ชมรมคนรักบ้านเกิด"

สวัสดีครับ ซำบายดีเด้อพี่น้องป้องปาย สู่ผู้สู่คน ขอให้อยู่ดีมีแฮง ปราศจากโรคา พยาธิ เภทภัยทั้งปวง ให้มีโชคลาภ หมานๆ กันสู่คน เฮ็ดไฮ่เฮ็ดนา ทำมาหากินอันใดก็ตาม กะขอให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีราคา ได้ผลตอบแทนตามที่ตั้งใจไว้ ผู้ได๋ทำงานรับจ้างกะขอให้เจ้านายฮักแพง ขึ้นค่าตอบแทนให้สู่คนเด้อ ส่วนขะน้อยขอให้บ่เจ็บ บ่ไข้ มีเงินใช้บ่ขาดมือกะเอาดอก...

ประวัติเเละความเป็นมาหลวงปู่ก่ำ

lpkum02หลวง ปู่ก่ำ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีอายุกว่า ๑,๓๐๐ ปี สูง ๑๒๓ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘๒ เซนติเมตร ที่ฐานมีตัวอักษรสลักไว้เป็นภาษาไทยน้อย มีใจความว่า

"ศักราช ๗๑ ปีกัดเป้า เดือนเจียง วัน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ แสนสุขาพร้อมด้วยทายาทเป็นผู้สร้าง" แปลตามภาษาไทยได้ความดังนี้.. ศักราช ๗๑ ตัว เทียบเท่ากับปี พ.ศ. ๑๒๕๒ ปีกัดเป้า ตรงกับปีฉลู เดือนเจียง ตรงกับเดือน ๑ วันที่ ๔ ตรงกับวันพุธขึ้น ๔ ค่ำ แสนสุขา อาจจะเป็นตำแหน่งหรือทักษิณาทางการปกครองในสมัยนั้นก็ได้
คนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย เล่าว่า คนสมัยโบราณยุคขอมโบราณ เขาพากันไปสร้างพระธาตุพนม ตามตำนานที่ว่า สร้างเป็นอุโมงค์บรรจุพระอุรังคธาตุ หลังจากพระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแล้ว หลังจากนั้นพอสร้างเสร็จก็มีการเดินทางไปตามเส้นทางบริเวณนี้ ต่อมาเกิดเกวียนล่ม และมีเหตุการณ์หยุดพักซ่อมแซม พวกคนโบราณจึงมีการก่อสร้างสิม และพระธาตุ สันนิษฐานว่าได้แก่วัดโนนธาตุในปัจจุบัน ส่วนที่เป็นหมู่บ้านบ้านดอนคง ก็เป็นเส้นทางที่คนสมัยโบราณได้พากันขนศิลาแลงจะไปสร้างพระธาตุพนม แต่พอรู้ข่าวว่าพระธาตุพนมสร้างเสร็จแล้ว ก็เลยพากันมาสร้างสิมและพระธาตุที่บริเวณวัดมัชฌิมาวาสในปัจจุบันนี้นั่นเอง ส่วนอีกที่หนึ่งที่อยู่ใกล้กันปัจจุบันเรียกว่าวัดดอนพระ
จากการสอบถาม ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่พบเจอหลวงปู่ก่ำเป็นคนแรก คือ แม่ตู้ชาดา จันทรเสนา ท่านพบพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์พระเปรอะเปื้อนคราบตะไคร่น้ำมากจนออกสี เขียวคล้ำไปทั้งองค์ ชาวบ้านจึงเรียกว่า หลวงปู่ก่ำ
ลักษณะของหลวงปู่ก่ำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์เรียบ ลักษณะเส้นต่างเด่นชัด พระเนตรนูน พระโอษฐ์เล็ก และทรงแย้มสรวล เม็ดพระศก พระเกศาแหลมคม พระเกศลักษณะเป็นเปลวเพลิง พระโสตใหญ่ และยาวปรกลงมาเกือบถึงพระอังสะ พระศอสูง ลักษณะพระสรีระได้สัดส่วน สังฆาฏิพาดยาวจากบ่าซ้ายลงมากึ่งกลางลำตัวจนถึงสะดือ แขนซ้ายมีเส้นจีวรพาดที่บริเวณเหนือข้อพระหัตถ์ ประทับนั่งขัดสมาธิเท้าขวาทับเท้าซ้าย พระหัตถ์ขวาคว่ำลงวางบนพระชานุ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นวางบนพระเพลา ประดิษฐานอยู่บนฐานสองชั้น ฐานแรกเป็นฐานเขียง ซึ่งหล่อเป็นชั้นเดียวกับหลวงปู่ก่ำไม่สูงมากนัก ตั้งอยู่บนฐานส่วนล่างซึ่งเป็นบัวคว่ำบัวหงายโบราณ ซึ่งมีความสูงพอสมควร นับว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีความสวยงามประณีตมากองค์หนึ่ง และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองที่สาธุชนให้ความเคารพบูชา ซึ่งหลวงปู่ก่ำจะให้ความคุ้มครองป้องกันภัย อันตรายต่างๆ แก่ลูกหลานที่มากราบไหว้

งานสรงน้ำหลวงปู่ก่ำ

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556